Breaking News

ทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระดับ สพม.23 ประจำปี 2560

ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

 

จากการประเมินสภาพปัจจุบันขององค์กรที่ได้ศึกษาจากผลการดำเนินงานตามภารกิจต่าง ๆ

แล้วจึงนำมาใช้ประกอบการกำหนดทิศทางขององค์กรดังนี้

1. วิสัยทัศน์ (Vision) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ดังนี้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23เป็นองค์กรจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ครูและบุคลากรปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ เน้นระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพภายใต้การมีส่วนร่วมและการเชื่อมโยงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

2. พันธกิจ (Mission) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 23 ได้กำหนดพันธกิจ ดังนี้

1. ส่งเสริม พัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทำหลักสูตรและจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย

2. ส่งเสริม พัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนการวิเคราะห์ วิจัย แก้ปัญหา มีวิจารณญาณ ตามมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล

3. ส่งเสริม พัฒนาให้สถานศึกษามีการทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ  นวัตกรรม  บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาใช้ในการบริหาร และการจัดการศึกษา

5. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สหวิทยาเขตและสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

6. ประสานงานส่งเสริม สนับสนุน และเสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในจังหวัดสกลนครอย่างบูรณาการ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

 

3.  เป้าประสงค์ (Goal)

เพื่อให้การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย จึงกำหนดเป้าประสงค์ ดังนี้

1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีคุณธรรมจริยธรรมมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ปลอดสิ่งเสพติด สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

2. ครูมีหลักสูตรชั้นเรียนและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตรงตามศักยภาพของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรมีคุณภาพและได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

4. ครูมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนการวิเคราะห์ วิจัย แก้ปัญหา มีวิญญาณ ความเป็นครูมีคุณธรรมจริยธรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล

5. สถานศึกษามีการทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

6. สถานศึกษามีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาและจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษาขึ้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล8. สถานศึกษา ชุมชนมีการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8. สถานศึกษา ชุมชนมีการสร้างขีดความสามารถในการค้าและการลงทุน

9. สถานศึกษา ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยว 3 ธรรม

 

 

4.  เอกลักษณ์/ค่านิยมองค์กร

เอกลักษณ์ของสำนักงานคือ “สวย  สะอาด  มีระเบียบ  เป็นระบบ”  ภายใต้การทำงานบนพื้นฐานการวิจัย โดยสนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR – Planning, Action, Observation, Reflection) สร้างค่านิยมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยใช้  “SCORE” โมเดล

S :  Smart                          =        สวย  สมาร์ท  ดูดี

C :  Clean                          =        สะอาด

O :  Organize                      =        จัดระเบียบ

R  :  Research                     =        การวิจัย

E  :  Excellent                     =        ความเป็นเลิศ/ยอดเยี่ยม

 

5. ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับ

ความต้องการของการพัฒนาประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การทดสอบ การประเมินการประกันคุณภาพและมาตรฐาน

การศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5  ICT เพื่อการศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6  การบริหารจัดการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8  การพัฒนาการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

 

6. กลยุทธ์ (Strategic)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. ปรับปรุงหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ

2. ส่งเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนและยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษ

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระหลัก

5 วิชาโดยรวมเพิ่มขึ้น

4. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเต็มศักยภาพและ

เป็นรายบุคคล

5. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

รวมทั้งมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และห่างไกลยาเสพติด

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. ครูมีสมรรถนะตรงตามสายงานและมีวัฒนธรรมทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์รวมทั้ง

ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผล ทักษะในการสื่อสารของครูอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เสริมสร้าง สนับสนุนครู ให้มีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีความก้าวหน้าใน

วิชาชีพและมีสวัสดิการที่เหมาะสมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3  ผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ

ของการพัฒนาประเทศ  มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. ส่งเสริมและพัฒนาให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรทักษะอาชีพ ควบคู่ไปกับวิสามัญ

2. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาและบุคลากรมีงานวิจัย เพื่อพัฒนาและปรับปรุง

การจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4  การทดสอบ การประเมินการประกันคุณภาพและมาตรฐาน

การศึกษา มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. พัฒนาและส่งเสริมระบบการประเมินสถานศึกษาและผู้เรียนมีการพัฒนาให้

เหมาะสมกับสถานศึกษาและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

2. มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์

และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553

3. มีการนิเทศการศึกษาอย่างมีระบบและต่อเนื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5  ICT เพื่อการศึกษา  มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. พัฒนาระบบ ICT เพื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับสถานศึกษาและผู้เรียน

2. ส่งเสริมการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศในเรื่องข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครูและ

บุคลากรทางการศึกษา ข้อมูลสถานศึกษาให้เป็นฐานเดียวกันและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการ มีกลยุทธ์ ดังนี้

1.บริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบต่อผลการ

ดำเนินงาน ตลอดจนการสร้างเครือข่าย

2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษา และประสานความ

ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7  การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. สร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเกษตร และเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชน

ในภาคเกษตรกรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8  การพัฒนาการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว มีกลยุทธ์ ดังนี้

1. สร้างขีดความสามารถในการค้า การลงทุน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน มี

กลยุทธ์ ดังนี้

1. สนับสนุนการท่องเที่ยว 3 ธรรม

 

5. จุดเน้น   (Indicator)

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23กำหนดจุดเน้นการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์

ปี 2560– 2564 ดังนี้

1. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ค่านิยมหลัก

ของคนไทย 12 ประการโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ STEM Education กระบวนการ BBL ทวิศึกษา
การจัดทำมาตรฐานภาษาอังกฤษ Boot-camp

 

2. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้าง

ทักษะให้ผู้เรียนในภาคการเกษตรเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ

3. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้าง

ให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการการค้า การลงทุน

4. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและกระบวนการเรียนรู้

เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว 3 ธรรม

5. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและลดอัตรานักเรียนออกกลางคัน

6. ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้น

7. ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว

และได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะที่เหมาะสมเพื่อการมีงานทำในอนาคต

8. ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะชีวิต และ

ทักษะการใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมตามช่วงวัย

9. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีคลินิกแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของผู้เรียน

10. ผู้เรียนได้รับการวัดและประเมินผลที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพเป็นรายบุคคล

11. ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหา และอยู่อย่างพอเพียง

12. ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน สามารถ

ปรับตัวเข้ากับพหุวัฒนธรรม บนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

13. ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเต็มตามศักยภาพ เป็นรายบุคคล

14.ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ตรงตามความต้องการ

ของบุคคล และสถานศึกษา

15. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาวิธีจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ทักษะกระบวน

การคิด การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รวมทั้งงานวิจัยเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

16.  ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารที่ทันสมัย

17.  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร จากสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ทั้งในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา หรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของสถานศึกษา

18. สถานศึกษาสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

ให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

19. ครูมีการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

20. ครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครูและยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสู่

ครูมืออาชีพ

21. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการทำงาน และมีผลการปฏิบัติงาน

เชิงประจักษ์

22. สถานศึกษาสร้างค่านิยมเชิงบวกในการเรียนสายอาชีพ เพื่อลดสัดส่วนการเรียน

สายสามัญ

23. หน่วยงานทุกระดับมีการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

24. ระบบการประเมินสถานศึกษาและผู้เรียนมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานศึกษา

และผู้เรียน

25. ระบบทดสอบเพื่อประเมินผ่าน หรือซ้ำชั้น มีการพัฒนาให้เหมาะสมในการจบการศึกษา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

26. ผู้ประเมินคุณภาพสถานศึกษามีการพัฒนาตามมาตรฐานผู้ประเมิน

27. หน่วยงานทุกระดับพัฒนาระบบ ICT เพื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับสถานศึกษา

และผู้เรียน

28. หน่วยงานทุกระดับพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็นฐานเดียวกันในเรื่องข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อมูลสถานศึกษาและข้อมูลข้าราชการและบุคลากรอื่น

ในการใช้ข้อมูล ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

29. หน่วยงานทุกระดับพัฒนา DLTVDLIT ให้เหมาะสมกับสถานศึกษาและผู้เรียน

30. ผู้เรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนรู้

31. หน่วยงานทุกระดับบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่าย

และรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน

32. สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกตามที่กำหนดได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือ

นิเทศ ติดตาม และประเมินผล

33. สถานศึกษาขนาดเล็กได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพการจัดการศึกษา

34. สถานศึกษาที่มีความพร้อมรับการกระจายอำนาจ มีรูปแบบการบริหารจัดการ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

35. สถานศึกษาบริหารจัดการร่วมกันโดยใช้การวางแผนพัฒนาการศึกษาระดับตำบล

(Educational Maps)

36. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารร่วมกันในรูปแบบ cluster อย่างมีประสิทธิภาพ

37. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยใช้มาตรฐานสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา

38. หน่วยงานทุกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างระบบสวัสดิการ สวัสดิภาพ

และความปลอดภัยให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่พิเศษ

39. หน่วยงานทุกระดับพัฒนาระบบ กำกับ ติดตาม และประเมินผล เพื่อการบริหารจัดการ

ที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

40. หน่วยงานทุกระดับปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณ และเกณฑ์การจัดสรร

งบเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ

41. หน่วยงานทุกระดับ ยกย่องเชิดชูเกียรติ หน่วยงาน องค์คณะบุคคลและบุคลากรที่มี

ผลงานเชิงประจักษ์

42. หน่วยงานทุกระดับ ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและพัฒนาการจัดการศึกษา

ของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

43. หน่วยงานทุกระดับ มีการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

44. หน่วยงานทุกระดับ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

45. หน่วยงานทุกระดับ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม

ในการจัดการศึกษา

46. หน่วยงานทุกระดับ ส่งเสริมการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษา